Kakeibo (คะเคโบะ) มาจากภาษาญี่ปุ่นแปลว่า สมุดบัญชีครัวเรือน ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี 1904 โดยคุณฮานิ โมโตะโกะ นักหนังสือพิมพ์หญิงคนแรกของญี่ปุ่น ที่ต้องการหาวิธีการออมเงินและจัดการงบประมาณรายรับรายจ่ายให้ครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น แนวคิดสำคัญของ ตะเตโบะ คือการชี้ให้เห็นถึงรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยและตัดรายจ่ายตรงส่วนนี้ออกไป
วิธีเก็บเงินแบบ ‘Kakeibo’
หลักการของ Kakeibo ต้องอาศัยความสม่ำเสมอและความพยายามในช่วงแรก เริ่มต้นด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายแบบรายวัน และรายสัปดาห์ หรืออาจจะเปลี่ยนไปใช้แอปพลิเคชันจัดการแทนก็ได้ โดยให้แบ่งการบันทึกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น (ค่าเดินทาง, ค่าเช่าบ้าน, ค่าน้ำค่าไฟ, ค่าอาหาร) รายจ่ายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และรายจ่ายพิเศษอื่นๆ เป็นต้น ยิ่งบันทึกรายรับรายจ่ายละเอียดก็จะช่วยให้คำนวนเงินคงเหลือสิ้นเดือนได้ดี ยกตัวอย่างเช่น การซื้อกินขนมจุกจิกช่วงระหว่างทำงานในแต่ละวันหากนำมารวมกันแล้วก็คงไม่ใช่จำนวนน้อยๆ พวกนี้ก็สามารถบันทึกลง Kakeibo ได้ด้วยเหมือนกัน
ปรัชญาของ ‘Kakeibo’
สิ่งสำคัญตามปรัชญาของ Kakeibo คือต้องตอบคำถามแต่ละข้อก่อนซื้อของทุกครั้ง โดยแต่ละคำถามจะให้เราได้พูดคุยกับตัวเองทุกครั้งก่อนซื้อสินค้าหรือบริการว่า เราซื้อสิ่งนี้เพราะจำเป็น หรือซื้อเพียงเพราะอยากได้ ซึ่งจะมีชุดคำถามดังนี้
เห็นได้ว่า การออมเงินแบบ Kakeibo ช่วยให้เราได้ทบทวนตัวเองเพิ่มขึ้นอีกหลายชั้น จากเดิมที่เห็นของชิ้นนี้แล้วอาจจะหยิบไปจ่ายตังในทันที ก็จะทำให้เราฉุกคิดการใช้จ่ายแต่ละครั้ง และถึงแม้ว่าจะช่วยให้เราออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องตัดความสุขในการใช้จ่ายออกไปทั้งหมด อะไรที่ชอบ และอยากซื้อเพื่อให้รางวัลกับตัวเอง ก็ยังสามารถทำได้ เพียงแต่ให้คิดก่อนซื้อ และไม่ตามใจตัวเองมากเกินไป