"ความเสี่ยง" เป็นเรื่องที่อยู่คู่กับชีวิตผู้คนมาตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะอยู่ในบ้านเราก็ยังต้องมีความเสี่ยง เช่น ความเสี่ยงลื่มหกล้มในห้องน้ำ ความเสี่ยงจากไฟฟ้าลัดวงจร ความเสี่ยงจากไฟใหม้ หรือแม้กระทั่งความเสี่ยงจากการตกบันได ซึ่งล้วนแต่นำความสูญเสียและสร้างความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินโดยไม่คาดคิด เช่นเดียวกับชีวิตหลังเกษียณ ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่อาจยาวนานถึง 1 ใน 3 ของชีวิตหรือมากกว่า และอาจเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตหลังเกษียณไม่มีความสุขและไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งหากรู้ล่วงหน้าได้ก่อนว่าจะมีเหตุการณ์ใดที่นำไปสู่ความเสียหายในอนาคต ก็สามารถหาทางลดความเสี่ยงหรือป้องกันได้ ทำให้ไม่เกิดความสูญเสียต่อร่างกาย ทรัพย์สิน รวมทั้งจิตใจ
ทั้งนี้ แอดมินได้รวบรวมความเสี่ยงของวัยเกษียณอายุไว้ 6 ประเด็น มีรายละเอียด ดังนี้
- ความเสี่ยงอายุยืนยาว: อนาคตเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ดังนั้น ในการใช้ชีวิตจำเป็นต้องวางแผนทางการเงินให้มีสำหรับใช้จ่ายในอนาคตอย่างเพียงพอ
- ความเสี่ยงการโดนออกจากงานก่อนวัยเกษียณ: การที่โดนออกจากงานก่อนวัย เช่น ให้ออกจากกงานในวัย 50 ทั้งที่ตามแผนคือายุ 60 ปี ดังนั้น การที่เกษียณก่อนวัยทำให้เราต้องใช้เงินเพิ่มมากขึ้นในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
- ความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อในอนาคต: เงินเฟ้อจะส่งผลให้มูลค่าเงินในอนาคตลดน้อยลง เช่น เงิน 1 ล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเท่ากับ 7 แสนกว่าบาทในปัจจุบัน ดังนั้น การฝากผ่าน Bank อย่างเดียว จะได้ดอกเบี้ยน้อยและมูลค่าเงินเราลดลง
- ความเสี่ยงในการลงทุน: การลงทุนทั้งหลัง-ก่อนเกษียณล้วนมีความสำคัญ โดยก่อนเกษียณเราจะลงทุนเชิงรุก แต่หลังเกษียณจะเน้นเชิงรับ เนื่องจากกันพลาด เพราะตอนนั้นเราไม่มีรายได้มาทดแทน ดังนั้นหากหลังเกษียณการเงินมีปัญหาเราจะใช้จ่ายได้น้อยลง
- ความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต: การใช้ชีวิตหลังเกษียณที่แตกต่างกันส่งผลต่อเงินที่ต้องเก็บไว้ใช้ ยิ่งมีการบริโภคนิยมหลังเกษียณมากเท่าไร ก็จะต้องเก็บเงินมากขึ้นเท่านั้น
- ความเสี่ยงค่าใช้จ่ายสุขภาพหลังเกษียณ: ปัญหาด้านสุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ดังนั้น ยิ่งเกิดเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลจะยิ่งแพงขึ้น เราจึงควรมีการเก็บเงินไว้ให้เยอะที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับอาการเจ็บป่วยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
Post Views: 88